10/04/2552 12:56:00 หลังเที่ยง 0 Comments »
จงสรุปปัญหาของงานซ่อมที่โรงพยาบาลศิริราชก่อนที่จะนำไอทีมาใช้และวิเคราะห์ไอทีกับงานซ่อมบำรุงที่โรงพยาบาลศิริราชตามหัวข้อด้านล่างนี้ว่ามีหรือไม่มีถ้ามีจงอธิบายถ้าไม่มีจงให้เหตุผลว่าควรมีหรือไม่เพราะอะไรถ้ามีควรทำอย่างไร่

1.เครือข่ายคอมพิวเตอร์ มี เพราะ เป็นระบบเครือข่ายที่มีความสำคัญมากต้องใช้ในโรงพยาบาลเช่น ระบบซ่อมบำรุงเพราะต้องมีการป้อนข้อมูลแจ้งซ่อมผ่านทางระบบออนไลน์ ,ระบบ Sap และระบบอื่นๆที่ต้องใช้งานในอนาคต
2.อินเทอร์เน็ต มี เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นและขาดไม่ได้ในการค้นหาข้อมูลต่างในการซ่อมบำรุง
3.พาณิชย์อีเล็กทรอนิกส์ มีเพราะใช้ในการสั่งซื้ออุปกรณ์สินค้าและบริการรวมทั้งการชำระค่าสินค้าและบริการด้วยและในอนาคตมีแนวโน้มว่าอาจนำPDAมาใช้อีกด้วย

4.ระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรม มี เพราะ ทำหน้าที่บันทึกรวบรวมข้อมูลในแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูล ประมวลผลข้อมูลที่เกิดจากการทำธุรกรรมและการปฏิบัติงาน เช่น การรวบรวมข้อมูลในการซ่อมบำรุงเพื่อเป็นข้อมูลให้รู้ว่าเครื่องมือนั้นซ่อมมากี่ครั้งควรซ่อมต่อหรือทิ้ง

5.ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มี เพราะจะประมวลผลและสรุปผลจากแฟ้มข้อมูลหรือฐานข้อมูลที่ได้จากระบบสารสนเทศประมวลผลธุรกรรมเพื่อจัดทำสารสนเทศตามความต้องการของผู้บริหารเช่น ระบบ KPI ที่วัดผลของการทำงานและระบบนี้ยังสามารถรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ผู้บริหารใช้ในการวิเคราะห์และวางแผนงานได้อีกด้วย

6.ร ะบบสนับสนุนการตัดสินใจ มี โดยการนำข้อมูลจากฐานข้อมูลต่างๆมาช่วยในการตัดสินใจ เน้นการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้สารสนเทศเป็นพื้นฐานในการช่วยตัดสินใจของผู้บริหาร โดยข้อมูลต่างๆอาจมาจากทั้งภายนอกและภายในองค์การ เช่นอาจนำข้อมูลมาจากระบบ KPI เพื่อใช้ในการตั้งงบประมาณและวางแผนปฎิบัติงาน

7.ร ะบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง มี เพราะช่วยสนับสนุนการวิเคราะห์ปัญหา ศึกษาแนวโน้ม และการวางแผนกลยุทธ์ ยกตัวอย่างเช่นระบบซ่อมบำรุงที่จะมีผลการซ่อมจำนวนในการเบิกวัสดุรายงานข้อมูลการซ่อมเพื่อเป็นสารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับสูง

8.ป ัญญาประดิษฐ์ระบบผู้เชี่ยวชาญและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ ไม่มี แต่ควรมี เพราะเป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานเหมือนมนุษย์ เช่นอาจมีหุ่นยนตร์ที่ใช้ในการซ่อมงานในจุดที่อันตรายส่วนระบบผู้เชี่ยวชาญควรมี เพราะมีไว้เพื่อรักษาความรู้ของผู้เชียวชาญที่อาจสูญเสียหรือสูญหายเนื่องมากจากการลาอ อก การเกษียณ การเสียชีวิต เช่น การเก็บความรู้ในการซ่อมบำรุงโรงพยาบาล
ระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์หรือระบบ GIS ควรมีเพราะเป็นระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพื้นที่

9.ระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ มีเพราะเป็น ระบบสารสนเทศที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขันเพื่อพัฒนาโรงพยาบาล10.ระบบการวางแผนทรัพยากรในงานอุตสาหกรรม ไม่มี แต่ ควรมีเพราะมีระบบที่สามารถนำมาใช้งานในโรงพยาบาลเช่นERP เป็นแอปพลิเคชั่นที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายในหลายองค์การ ระบบ ERP ช่วยในการจัดการกระบวนการทางธุรกิจ (Business Process) ทั้งหมดในองค์การไม่ว่ากระบวนการผลิตสินค้า กระบวนการฝ่ายการเงินและการบัญชี กระบวนการขายและกระบวนการผลิต กระบวนการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์และอื่นๆ

11.การพัฒนาระบบสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม ไม่มี ไม่ควรมี เพราะเป็นระบบในการพัฒนาในงาน

อุตสหกรรม
12ระบบสำนักงานอัติโนมัติ มี เพราะเป็นเทคโนโลยีมาช่วยคนในสำนักงานให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ระบบเครือข่าย และซอฟต์แวร์ต่างๆ


การใช้ประโยชน์จาก RFID ในห่วงโซ่อุปทานยา
1.ทำไมจึงต้องนำ RFID มาใช้งาน

ระบบ Radio Frequency ldentification (RFID)สามารถตรวจและบันทึกข้อมูลได้ลึกถึงระดับชิ้นของสินค้าสามารถตรวจสินค้าได้ทีละหลายชิ้นและสามารถตรวจสอบได้แม้ว่าจะมีของอย่างอื่นบังอยู่ จึงนำมาซึ่งผลดีของธุรกิจยาซึ่งใช้ในการตรวจสอบข้อมูลและประวัติยา
2.ข้อดี-ข้อเสียของการนำ RFID มาใช้งาน

ข้อดี

1.สามารถลดค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบยา

2.ช่วยบริหารสต๊อก

3.ป้องกันการปลอมแปลง

4.ตรวจสินค้าได้หลายชิ้น

5.สามารถตรวจสอบประวัติยา

6.ช่วยลดเวลาในการค้นหาสินค้า

ข้อเสีย

1.ราคาแพงเมื่อเทียบกับบาร์โค้ด

2.ระยะในการทำงานของ RFID ยังใช้ได้ระยะไม่ไกลนัก

3.ไม่เหมาะกับที่ที่มีโลหะมาก

4.สิทธิด้านความเป็นส่วนตัว (Privacy Right) ของผู้บริโภคกำลังถูกล่วงละเมิด

3.RFID ควรนำไปใช้งานด้านใดอีก จงอธิบายและให้เหตุผลประกอบ

ธุรกิจที่เหมาะกับ RFID อย่างยิ่ง คืออุตสาหกรรมการผลิตสินค้าสำหรับผู้บริโภคทั้งหลายและหน่วยธุรกิจค้าปลีก เพราะRFID สามารถใช้ในการติดตามสินค้าทุกขั้นตอนในวงจรผลิตภัณฑ์ ทั้งในส่วนขั้นตอนการผลิต การบรรจุหีบห่อ การขนส่ง สามารถใส่ข้อมูลลงในแทค เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆสำหรับการจัดการผลิตภัณฑ์และการจัดจำหน่าย

9/06/2552 01:40:00 หลังเที่ยง 0 Comments »
ข้อ 1. อธิบายความหมายของกลยุธ์ และระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์
คำตอบ.กลยุทธ์ (Strategy) คือ แผนรวมขององค์การที่นำเอาข้อได้เปรียบและจุดเด่นในด้านต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ และปรับลดจุดด้อย หรือเอาชนะข้อจำกัดที่มีอยู่เพื่อแสวงหาโอกาสและหลีกเลี่ยงอุปสรรคซึ่งจะทำให้องค์การสามารถอยู่รอดเจริณเติบโตได้ในระยะยาวรวมทั้งสามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใต้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ เป็นระบบสารสนเทศใด ๆ ที่ช่วยสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันหรือลดความเสียเปรียบให้องค์การ
ข้อ 2. องค์การสามารถเลือกใช้กลยุทธ์ใดได้บ้างเพื่อรับมือแรงกดดันทางการแข่งขัน
คำตอบ.1) กลยุทธ์ในการเป็นผู้นำด้านราคา (Cost Leadership Strategy)
2) กลยุทธ์สร้างความแตกต่าง (Differentiation Strategy)
3) กลยุทธ์เน้นกลุ่มเป้าหมาย (Focus Strategy)
ข้อ 3. กิจกรรมของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) มีอะไรบ้าง และจงยกอย่างของระบบสารสนเทศเชิงกลยุทธ์ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในแต่ละกิจกรรมคำตอบ.
กิจกรรมมีดังนี้
1) กิจกรรมหลัก (Primary Activities)
- การลำเลียงเข้า (Inbound Logistics)
- การดำเนินงานหรือการผลิต (Operations)
- การลำเลียงออก (Outbound Logistics)
- การตลาดและการขาย (Marketing and Sales)
- การบริการ (Services)
2) กิจกรรมสนับสนุน (Support Activities)
- โครงสร้างพื้นฐานของบริษัท (Firm Infrastructure)
- การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resoure Management)
- การพัฒนาเทคโนโลยี (Technology Management)
- การจัดหา (Procrument)
ระบบสารสนเทศจะถูกนำมาใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เพื่อปรับปรุงกระบวนการการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดต้นทุนและค่าใช้จ่าย หรือเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้าและบริการ ซึ่งอาจรวมถึงการสร้างสินค้าและบริการใหม่
ข้อ 4. กลยุทธ์ธุรกิจ (Business Strategy) กับกลยุทธ์ระบบสารสนเทศ (IS Strategy) และกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT Strategy) มีความสัมพันธ์กันอย่างไร จงอธิบาย
คำตอบ.แผนกลยุทธ์ธุรกิจจะเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางของแผนกลยุทธ์ระบบสารเทศ ในขณะที่แผนกลยุทธ์ระบบสารเทศเป็นเครื่องชี้ทางแผนกลยุทธ์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์การ
ข้อ 5. ระบบสารสนเทศระหว่างองค์การ (Interorganizational System : IOS) มีลักษณะอย่างไรและการที่สามารถเข้าดูข้อมูลในระบบได้จะมีประโยชน์อย่างไรต่อองค์การ
คำตอบ.เทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำมาเป็นเครื่องมือในการเชื่อมโยงธุรกิจขององค์การกับบริษัทพันธมิตรเข้าด้วยกัน เช่น การใช้ระบบแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ (EDI) หรือ Internet ในการเชื่อมโยงองค์การเข้ากับผู้จัดส่งวัตถุดิบในการผลิต เพื่อให้มีวัตถุเพียบพอ และในระดับที่เหมาสอกับความต้อวการ ทำให้ไม่ต้องจัดเก็บวัตถุดิบไว้ในคลังมากเกินความจำเป็นซึ่งเป็นการช่วยลดค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บวัตถุดิบลงองค์การทำการเชื่อมโยงผู้จัดส่งวัตถุดิบเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลสารสนเทศกันและสามารถทำงานร่วมกันได้ ผู้จัดส่งวัตถุดิบสามารถเข้ามาดูข้อมูลเกี่ยวกับสถานะการผลิตของบริษัททางอิเล็กทรอนิกส์ได้ และทำการจัดวัตถุดิบให้ในเวลาที่ต้องการใช้โดยอัตโนมัติโดยที่องค์การไม่จำเป็นต้องออกใบสั่งซื้อ ซึ่งช่วยให้ลดขั้นตอนการดำเนินงานจากเดิม ลดการใช้กระดาษและลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานลงได้ ทั้งองค์การและผู้จัดส่งวัตถุดิบจึงเป็นผู้รับผิดชอบในร่วมกันการผลิต

8/30/2552 01:59:00 หลังเที่ยง 0 Comments »
ข้อที่ 1ให้ยกตัวอย่างระบบงานอุตสหกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์โดยยกตัวอย่างลักษณะงานของปัญญาประดิษฐ์อย่างละ1ข้อหรือมากที่สุดเท่าที่ทำได้

หุ่นยนต์ FANUC นี้ ผลิตขึ้นมาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารและยา ประกอบด้วยระบบแขนกล M-430iA ที่เคลื่อนที่ได้รอบแกน และระบบตามการเคลื่อนไหวโดยวิธีการจับภาพ ส่งผลให้แขนกลแต่ละข้างสามารถหยิบจับสิ่งของบนสายพานที่กำลังเคลื่อนที่ได้อย่างแม่นยำและรวดเร็วถึง 120 ชิ้นต่อนาที ทั้งนี้ ยังสามารถทำงานติดต่อกันได้โดยไม่ต้องหยุดพักตลอด 24 ชั่วโมง มีความทนทานต่อน้ำยาทำความสะอาดที่เป็นกรดและด่าง และเนื่องจากมีส่วนประกอบที่เป็นพลาสติกทำให้ FANUCไม่จำเป็นต้องใช้น้ำมันหล่อลื่น รวมทั้งได้ถูกออกแบบมาโดยคำนึงถึงสุขอนามัยและความสะอาดเพื่อใช้งานในการหยิบจับอาหารและยาโดยเฉพาะ และจากปริมาณการขายไปยังโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 150 แห่งทั่วโลกตั้งแต่ปี 2006 แสดงให้เห็นถึงการยอมรับจากภาคอุตสาหกรรมว่า FANUC สามารถช่วยลดต้นทุนตลอดจนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้
2.สมมุติว่าท่านเป็นผู้บริหารโรงงานอุตสหกรรมแห่งหนึ่งท่านจะนำข้อมูลในเรื่องใดบ้างมาประกอบการตัดสินใจการบริหารของท่านบ้างจงยกตัวอย่าง
สมมุติเป็นผู้บริหารโรงงานประกอบรถยนตร์นำข้อมูลด้านการจัดการด้านการอนุรักษ์พลังงานมาประกอบการตัดสินใจในการสร้างโรงงานใหม่เพื่อประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดพลังงานความร้อนร่วม (Co-Generator) โดยการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า รวมไปถึงการติดตั้งเซลล์พลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Cell) ที่อาคารโรงงานเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ภายในสถานที่ทำงาน ซึ่งจะสามารถลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่บรรยากาศได้กว่า 8,500 ตันต่อปี

8/23/2552 12:00:00 หลังเที่ยง 0 Comments »
แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5
1) อธิบายความหมายและองค์ประกอบหลักของระบบสนับสนุนการตัดสินใจ
ตอบ- ระบบที่นำมาช่วยผู้บริหารในการตัดสินใจแก้ปัญหา โดยเฉพาะปัญหาที่ไม่ได้กำหนดแนวทางในการจัดการไว้ล่วงหน้าชัดเจน
- องค์ประกอบหลัก ได้แก่
1. ส่วนจัดการข้อมูล
2. ส่วนจัดการโมเดล หรือ ส่วนจัดการตัวแบบ
3. ส่วนจัดการโต้ตอบ
2) ลักษณะและความสามารถของระบบสนับสนุนการตัดสินใจมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ- สนับสนุนการตัดสินใจทั้งในสถานการณ์แบบกึ่งโครงสร้างและไม่มีโครงสร้าง
- สนับสนุนการทำงานของผู้บริหารได้หลายระดับ
- สนับสนุนการตัดสินใจแบบเฉพาะบุคคลและแบบกลุ่ม
- สนับสนุนการตัดสินปัญหาที่เกี่ยวพันซึ่งกัน
- สนับสนุนทุกขั้นตอนของกระบวนการตัดสินใจ
- สนับสนุนการตัดสินใจหลายๆรูปแบบ
- สามารถปรับเปลี่ยนข้อมูลเพื่อการจัดการเงื่อนไขต่างๆ มีความยืดหยุ่นสูง
- สามารถใช้งานได้ง่าย
- เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
- สามารถควบคุมทุกขั้นตอนในการตัดสินใจได้
- ผู้ใช้สามารถสร้างและปรับปรุงระบบ DSS ขนาดเล็กแบบง่ายๆได้ด้วยตนเอง
- มีการใช้แบบจำลองต่างๆ- สามารถเข้าถึงข้อมูลจากหลายแหล่งได้
3) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจขั้นสูงมีความแตกต่างจากระบบผู้เชี่ยวชาญอย่างไร
ตอบ- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจจะช่วยสนับสนุนการตัดสินใจของมนุษย์ ผู้ใช้ระบบทำการตัดสินใจเอง และป้อนข้อมูลฐานระบบขอบเขตกว้างและซับซ้อน ไม่มีความสามารถในการให้เหตุผลและจำกัดความสามารถในการอธิบาย ส่วน
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ มีวัตถุประสงค์ในการทดแทนคำแนะนำของในมนุษย์ มีระบบทำการตัดสินใจและระบบคำถามกับผู้ใช้ ขอบเขตแคบและเฉพาะเจาะจง มีความสามารถในการให้เหตุผลอย่างจำกัด และมีความสามารถในการอธิบาย
4) ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม มีประโยชน์และแตกต่างจากระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคลอย่างไร
ตอบ- ระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม เป็นการตัดสินปัญหาบางส่วนในองค์การต้องอาศัยการตัดสินใจในรูปของคณะกรรมการหรือคณะทำงานประโยชน์ของระบบสนับสนุนการตัดสินใจกลุ่ม
1. ช่วยเตรียมความพร้อมในการประชุม
2. อำนวยความสะดวกด้านการสื่อสารระหว่างสมาชิก
3. ส่งเสริมและสร้างบรรยากาศในการร่วมมือกัน
4. จัดเตรียมข้อมูลและสารสนเทศที่เหมาะสม
5. ช่วยจัดลำดับความสำคัญของปัญหา
6. อำนวยความสะดวกในการจัดทำเอกสารประกอบการประชุม
7. ช่วยประหยัดเวลาและสามารถลดจำนวนครั้งของการประชุมได้
- ส่วนระบบสนับสนุนการตัดสินใจส่วนบุคคลได้รับการออกแบบมาเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของแต่ละบุคคล ซึ่งผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนเงื่อนไขต่างๆได้ด้วยตนเอง
5.ระบบสนับสนุนการตัดสินใจนำมาใช้ในธุรกิจต่างๆ ด้านล่างนี้ได้อย่างไร จงอธิบาย และยกตัวอย่างประกอบ
5.1 ธุรกิจโรงเรียน ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
5.2 ธุรกิจโรงพยาบาล ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
5.3 ธุรกิจผลิตรถยนต์ ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
5.4 ธุรกิจขายรถยนต์ ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
5.5 ธุรกิจโรงแรม ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
5.6 ธุรกิจผลิตน้ำแข็ง ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
5.7 ธุรกิจผลิตน้ำมัน ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
5.8 ธุรกิจผลิตเม็ดพลาสติก ในระดับการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ เชิงยุทธวิธี และเชิงปฏิบัติการ
ตอบ
5.1 โปรแกรมเครื่องมือในการหัดพิมพ์
5.2 โปรแกรมการช่วยในการฝึกหัดแพทย์ผ่าตัด
5.3 โปรแกรมการประกอบชิ้นส่วนรถยนตร์
5.4 โปรแกรมตรวจสอบข้อมูลราคารถยนต์
5.5 โปรแกรมตรวจสอบข้อมูลการท่องเที่ยว
5.6 โปรแกรมการซื้อขายวัตถุดิบ
5.7 โปรแกรมสั่งซื้อน้ำมัน
5.8 โปรแกรมการจัดเก็บข้อมูลวัตถุดิบ

8/16/2552 02:20:00 หลังเที่ยง 0 Comments »
โปรแกรมสนับสนุนการตัดสินใจ dss

8/09/2552 12:42:00 หลังเที่ยง 0 Comments »
คำถามท้ายบทที่ 3
1. Instant Messaging (IM) คืออะไร สามารถสนับสนุนกระบวนการดำเนินธุรกิจได้อย่างไรบ้างและช่วยลดค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ได้อย่างไร
Instant Messaging : IM คือ โปรแกรมที่ให้ผู้ใช้สามารถส่งผ่านข้อความ, ตัวอักษร, ภาพนิ่ง,
ภาพเคลื่อนไหว, ไฟล์มัลติมีเดีย หรือคุยตอบโต้กันได้แบบเรียลไทม์ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
สามารถสนับสนุนกระบวนการดำเนินธุรกิจและช่วยลดค่าใช้จ่ายโทรศัพท์ได้ เนื่องเป็นการส่ง
ข้อความแบบ Real-Time ทำให้ติดต่อสื่อสารกันได้ง่ายใช้แทนการใช้โทรศัพท์ได้ และยัง
สามารถส่งงาน หรือเอกสารได้ ทำให้ช่วยสนับสนุนกระบวนการดำเนินธุรกิจไปได้โดยง่าย

2. E-Commerce แตกต่างจาก E-Bussiness อย่างไร
E-Commerce เป็นส่วนหนึ่งของ E-Bussiness คือ E-Bussiness จะมีการดำเนินธุรกรรมทุกขั้นตอนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งในส่วนหน้าร้าน (Front Office) และหลังร้าน (Back Office) ในขณะที่ E-Commerce จะทำการซื้อขายสินค้าหรือบริการผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น

3. E-Commerce กับ M-Commerce ต่างกันหรือไม่ จงอธิบาย
พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ ขบวนการที่ใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อทำธุรกิจที่จะบรรลุเป้าหมายขององค์กร พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ใช้เทคโนโลยีประเภทต่าง ๆ และตรอบคลุมรูปแบบทางการเงินทั้งหลาย เช่น ธนาคารอิเล็กทรอนิกส์, การค้าอิเล็กทรอนิกส์, อีดีไอหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์, ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์, โทรสาร, คะตะล้อกอิเล็กทรอนิกส์, การประชุมทางไกล และรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นข้อมูลระหว่างองค์กร (ESCAP,1998)ส่วน
M-Commerce ก็คือ การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม หรือการเงิน โดยผ่านเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ฟังดูโดยผิวเผินแล้วจะคล้ายกับว่า M-Commerce เป็นเพียงส่วนย่อยส่วนหนึ่งของกิจกรรม E-Commerce ที่เจาะจงให้ใช้งานกับเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่เท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว M-Commerce เป็นการแตกแขนงของเทคโนโลยีที่มีผลกระทบโดยตรง

4. จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่างการทำธุรกิจแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B), ธุรกิจกับลูกค้า (B2C), ธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) และลูกค้ากับลูกค้า (C2C) ธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างที่มุ้งเน้นให้บริการกับลูกค้าที่เป็นองค์การธุรกิจด้วยกัน เช่น ผู้ผลิต-ผู้ผลิต ผู้ผลิต-ผู้ส่งออก ผู้ผลิต-ผู้นำเข้า และผู้ผลิต-ผู้ค้าส่ง
E-Commerce แบบ (B2B) เป็นลักษณะการค้าระหว่างผู้ขาย (Business)กับผู้ขาย(Business) ซึ่งเป็นการขายสินค้าที่มีจำนวนมากขึ้น ต้องการความปลอดภัยมากขึ้น เช่น ร้านขายหนังสือต้องการสั่งซื้อหนังสือจากโรงพิมพ์
E-Commerce แบบ (B2C) เป็นลักษณะการค้าระหว่างผู้ขาย(Business) กับผู้ซื้อ(Customer) เช่นโรงพิมพ์ต้องการซื้อต้นฉบับจากผู้เขียน
E-Commerce แบบ (B2G) (Business to Government ) คือผู้ประกอบการ กับ ภาครัฐ เป็นการประกอบธุรกิจระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ ที่ใช้กันมากก็คือเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ หรือที่เรียกว่า e-Government Procurement รัฐบาลจะทำการซื้อ / จัดจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เช่น การชำระภาษีออนไลน์ ผ่าน
E-Commerce แบบ C2C (Consumer to Consumer ) คือการค้าระหว่างผู้บริโภค กับ ผู้บริโภค ในเรื่องการติดต่อระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภคนั้น มีหลายรูปแบบและวัตถุประสงค์ เช่นเพื่อการติดต่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ในกลุ่มคนที่มีการบริโภคเหมือนกัน หรืออาจจะทำการแลกเปลี่ยนสินค้ากันเอง ขายของมือสองเป็นต้น

5. จงยกตัวอย่างปัจจัยที่ทำให้พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประสบความสำเร็จและล้มเหลวมาอย่างละ 5 ข้อ
แบบประสบความสำเร็จ
1.สามารถเปิดดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
2.สามารถดำเนินการค้าขายได้อย่างอิสระทั่วโลก
3.ใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ
4.ไม่ต้องเสียค่าเดินทางในระหว่างการดำเนินการ
5.ง่ายต่อการประชาสัมพันธ์ และยังสามารถประชาสัมพันธ์ในครั้งเดียวแต่ไปได้ทั่วโลก
แบบล้มเหลว
1.ต้องมีระบบการรักษาความปลอดภัยของระบบที่มีประสิทธิภาพ
2.ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าที่ไม่ได้ใช้บริการอินเทอร์เนตได้
3.ขาดความเชื่อมั่นในเรื่องการชำระเงินผ่านทางบัตรเครดิต
4.ขาดกฎหมายรองรับในเรื่องการดำเนินการธุรกิจขายสินค้าแบบออนไลน์
5.การดำเนินการทางด้านภาษียังไม่ชัดเจน

6. Internet ส่งผลต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์กับลูกค้าอย่างไรบ้าง
เป็นชุมชนอิเล็กทรอนิกส์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลกที่มีทั้ง ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ผลิตหรือซัพพลายเออร์ เข้าออกแล้วค้นหาสินค้าและบริการตลอดเวลา จึงเป็นแหล่งที่เอื้ออำนวยต่อการประกอบธุรกิจ Internet จึงเป็นเหมือนจุดศูนย์การในการทำธุรกิจของโลกปัจจุบันมาก

7. Internet มีประโยชน์ต่อการให้บริการลูกค้าอย่างไรบ้าง
มีหน้าที่ให้บริการต่าง ๆ กับลูกค้าตั้งแต่การค้นข้อมูลของ สินค้าและบริการ การสั่งซื้อ หรือแม้แต่การชำระเงินก็สามารถทำได้สะดวก สินค้าและบริการบ้างอย่างก็จะมีการให้บริการหลังการขายผ่านทาง Internet ด้วย

8. ในยุคความเจริญของ internet ความเร็วสูง การจำหน่าย softeware ในรูปแบบของ CD-Rom น่าจะลดน้อยลงและได้รับความนิยมน้อยกว่าการจำหน่ายโดยวิธีการ download ผ่านทาง internet แต่ในปัจจุบันกลับไม่เป็นเช่นนั้น การจำหน่าย software ในรูปของ CD-Rom ยังคงได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ท่านคิดว่าเป็นเพราะเหตุผลใด
คงเป็นความไม่มั่นใจของ File ที่ Download มาแล้วนั้นจะไม่สมบูรณ์แล้วต้องทำการ Download ใหม่เป็นการเสียเวลาจึงทำให้ส่วนใหญ่ CD-Rom ยังเป็นที่นิยมของการจำหน่าย Software ในปัจจุบันนี้

9.จงยกตัวอย่างของธุรกิจที่ทำการค้าแบบ E-Commerce มา 1 ธุรกิจ
ธุรกิจการขายเสื้อผ้า

URLครับอาจารย์

8/02/2552 01:25:00 หลังเที่ยง 0 Comments »
http://www.tarad.com/beerwunt/

7/26/2552 02:10:00 หลังเที่ยง 0 Comments »
SAN คืออะไร
SAN (Storage Area Network) และ NAS (Network Attached Storage) ต่างเป็นเทคโนโลยีเพื่อช่วยเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเข้ามาแทนที่การเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโดยตรงอย่าง Direct Attached Storage (DAS) ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง เช่น ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ความถูกต้องของข้อมูล หรือ พื้นที่จัดเก็บ ให้เกิดความยืดหยุ่นในการเข้าถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมากกว่า โดยเทคโนโลยีทั้งสองอย่างมีพื้นฐานมาจากมาตรฐานเปิดเน็ตเวิร์กโปรโตคอล ความเข้าใจเกี่ยวกับ SAN

1. การจัดเก็บข้อมูลแบบ SAN
เป็นเครือข่ายของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโดยเฉพาะ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับระบบ LAN กล่าวคือ เป็นเครือข่ายที่แยกตัวออกมาจาก LAN ดังนั้นการส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารของตัวอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจึงไม่มีผลกระทบโดยตรงกับเครือข่าย LAN ในองค์กร
2. SAN ไม่ใช่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย
อุปกรณ์จัดเก็บ เช่น Hard Disk หรือ Tape Backup รวมทั้งอุปกรณ์จัดเก็บอื่น ๆ บน LAN ไม่ใช่ SAN ไม่ว่าเครือข่ายจะมีเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากเท่าใด อุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลทั้งภายนอก และภายในเซิร์ฟเวอร์จะมีขนาดใหญ่ หรือจำนวนมากเท่าใด ก็ยังไม่สามารถเรียกว่า SAN
3. SAN ไม่ใช่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เชื่อมต่อกันโดยตรงกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรือเครือข่าย
การเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบต่อตรง ยังมีปัญหาในเรื่องขีดจำกัดของ SCSI Adapter หรืออินเทอร์เฟสของระบบ SCSI ที่ใช้ รวมทั้งแอดเดรสที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะมีให้ นอกจากนี้การที่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลทำงานภายใต้ระบบ SCSI และถูกติดตั้งไว้บนระบบ LAN จะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของประสิทธิภาพเกิดขึ้น เนื่องจาก Workstation ต่าง ๆ บน LAN จะต้องเข้ามาขอแบ่งการใช้งานแบนด์วิดธ์ของระบบ LAN ที่มีอยู่ ทำให้การทำงานช้าลง
4. ใช้การเชื่อมต่อแบบ Fiber Channel
SAN ใช้ระบบการเชื่อมต่อและโปรโตคอลที่เรียกว่า Fiber Channel การเชื่อมต่อที่ใช้เทคโนโลยีลักษณะนี้จะเป็นการเชื่อมต่อเฉพาะแบบที่ไม่ใช่ระบบ LAN จะยอมให้ส่งคำสั่งควบคุมการจัดส่งข้อมูลระหว่างตัวอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของอนุกรมมากกว่าที่จะเป็นแบบคู่ขนาน

กรณีศึกษาบทที่ 4

7/26/2552 01:40:00 หลังเที่ยง 0 Comments »
กรณีศึกษาบทที่ 4
การใช้เครือข่าวไร้สายของบริษัทเฮิร์ตซ์ (Hertz)
1. จากการประยุกต์ใช้เครือข่ายไร้สายของบริษัทเฮิร์ตซ์ที่ได้กล่าวข้างต้น แอปพลิเคชั่นที่ประยุกต์เพื่อใช้งานธุรกิจภายในองค์การมีอะไรบ้าง และมีแอปพลิเคชันใดบ้างที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง
ตอบ =
1. การให้บริการเช่ารถยนต์ด้วยความรวดเร็ว
2. การคืนรถยนต์อัตโนมัติ
3. บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่
4. การตรวจสอบเส้นทางเดิน
5. บริการเสริมสำหรับลูกค้า
6. การตรวจสอบตำแหน่งของรถเช่า
แอปพลิเคชันที่เน้นลูกค้าเป็นศูนย์กลางคือ บริการเสริมต่างๆ สำหรับลูกค้าไม่ว่าจะเป็นการให้บริการดาว์นโหลดข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน แผนที่แหล่งช้อปปิ้ง ตลอดจนร้านค้า โรงแรม และแหล่งบันเทิงต่างๆ ผ่านทางเครื่องพีดีเอ
2. ประโยชน์อะไรบ้างที่เฮิร์ตซ์ได้รับจากการตรวจสอบตำแหน่งของรถเช่า และในฐานะที่ท่านเป็นผู้เช่ารถ ท่านมีความเห็นอย่างไรบ้างเกี่ยวกับการดำเนินการในลักษณะนี้
ตอบ =
ประโยชน์ที่บริษัทเฮิร์ตซ์ได้รับในการตรวจสอบก็คือความมั่นใจว่ารถที่ให้เช่าไปจะสามารถรู้ตำแหน่งที่อยู่ของรถว่านำรถไปใช้ที่ไหนบ้างและสามารถตรวจสอบข้อมูลได้เมื่อรถโดนขโมย คิดว่าการที่บริษัทนี้ทำเป็นระบบที่มีความรอบครอบแต่อาจเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว
กรณีศึกษาบทที่ 4
การใช้ RIFD ในห่วงโซ่อุปทานของยา
1. ท่านคิดว่า RIFD มีข้อได้เปรียบกว่าบาร์โค้ดอย่างไรบ้าง
ตอบ =
สามารถตรวจสอบยาต่างๆ ได้อย่างรวดเร็วและง่ายกว่าบาร์โค้ดเนื่องจากการใช้ RIFD นั้นสามารถระบุลักษณะของวัตถุด้วยคลื่นความถี่วิทยุโดยการสแกนผ่านรูปทรงของวัตถุได้เลย แต่ในส่วนของบาร์โค้ดนั้นต้องนำที่สแกนไปสแกนให้ตรงกับตำแหน่งที่ติดตั้งฉลากบาร์โค้ดจึงจะสามารถสแกนข้อมูลของยาได้ดังนั้นการใช้บาร์โค้ดจึงทำให้เป็นการเสียเวลามากกว่า
2. จงยกตัวอย่างการนำเทคโนโลยี RFID ไปประยุกต์ใช้ในธุรกิจต่างๆ มา 3 ตัวอย่าง
ตอบ =
1. ร้านรองเท้า
2. ร้านหนังสือ
3. ร้านซุปเปอร์มาเก็ต
3. ท่านคิดว่าข้อจำกัดของการนำ RFID ไปใช้ในงานธุรกิจมีอะไรบ้าง
ตอบ =
การติดตั้งระบบค่อนข้างมีราคาแพงอาจไม่คุ้มทุนนะถ้าหากว่าธุรกิจมีขนาดไม่ใหญ่ และ การดูแลระบบอาจเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความชำนาญเป็นพิเศษ ซึ่งอาจจะต้องจ้างผู้ตรวจสอบระบบเพิ่มต่างหากทำให้เป็นการเพิ่มภาระต้นทุนให้กับธุรกิจ

7/19/2552 01:33:00 หลังเที่ยง 0 Comments »
http://beerwunt.blogspot.com

web blog คืออะไร
Blog มาจากศัพท์คำว่า WeBlog บางคนอ่านคำ ๆ นี้ว่า We Blog บางคนอ่านว่า Web Log แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน ว่านั่นคือบล็อก (Blog)
ความหมายของคำว่า Blog ก็คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลงบนเว็บไซต์ โดยเนื้อหาของ blog นั้นจะครอบคลุมได้ทุกเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวส่วนตัว หรือเป็นบทความเฉพาะด้านต่าง ๆ เช่น เรื่องการเมือง เรื่องกล้องถ่ายรูป เรื่องกีฬา เรื่องธุรกิจ เป็นต้น โดยจุดเด่นที่ทำให้บล็อกเป็นที่นิยมก็คือ ผู้เขียนบล็อก จะมีการแสดงความคิดเห็นของตนเอง ใส่ลงไปในบทความนั้น ๆ โดยบล็อกบางแห่ง จะมีอิทธิพลในการโน้มน้าวจิตใจผู้อ่านสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน บางบล็อกก็จะเขียนขึ้นมาเพื่อให้อ่านกันในกลุ่มเฉพาะ เช่นกลุ่มเพื่อน ๆ หรือครอบครัวตนเอง
มีหลายครั้งที่เกิดความเข้าใจกันผิดว่า Blog เป็นได้แค่ไดอารี่ออนไลน์ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไดอารี่ออนไลน์เปรียบเสมือน เนื้อหาประเภทหนึ่งของบล็อกเท่านั้น เพราะบล็อกมีเนื้อหาที่หลากหลายประเภท ตั้งแต่การบันทึกเรื่องส่วนตัวอย่างเช่นไดอารี่ หรือการบันทึกบทความที่ผู้เขียนบล็อกสนใจในด้านอื่นด้วย ที่เห็นชัดเจนคือ เนื้อหาบล็อกประเภท วิจารณ์การเมือง หรือการรีวิวผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมานั่นเอง อีกทั้งยังสามารถ แตกแขนงไปในเนื้อหาในประเภทต่าง ๆ อีกมากมาย ตามแต่ความถนัดของเจ้าของบล็อก ซึ่งมักจะเขียนบทความเรื่องที่ตนเองถนัด หรือสนใจเป็นต้น
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ มันสามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ที่ชัดเจนของบล็อกนั้น ๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
ในอดีตแรกเริ่ม คนที่เขียน Blog นั้นยังทำกันในระบบ Manual คือเขียนเว็บเองทีละหน้า แต่ในปัจจุบันนี้ มีเครื่องมือหรือซอฟท์แวร์ให้เราใช้ในการเขียน Blog ได้มากมาย เช่น
WordPress, Movable Type เป็นต้น
ผู้คนหลายล้านคนจากทั่วทุกมุมโลก หันมาเขียน Blog กันอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่นักเรียน อาจารย์ นักเขียน ตลอดจนถึงระดับบริษัทยักษ์ใหญ่ในตลาดหุ้น NasDaq
เมื่อสองสามปีที่ผ่านมา Blog เริ่มต้นมาจาก การเขียนเป็นงานอดิเรก ของกลุ่มสื่ออิสระต่าง ๆ หลาย ๆ แห่งกลายเป็นแหล่งข่าวสำคัญ ให้กับหนังสือพิมพ์หรือสำนักข่าวชั้นนำ จวบจนกระทั่งปี 2004 คนเขียน Blog ก็ได้รับการยอมรับจากสื่อและสำนักข่าวต่าง ๆ ถึงความรวดเร็วในการให้ข้อมูล ตั้งแต่เรื่องการเมือง ไปจนกระทั่ง เรื่องราวของการประชุม ระดับชาติ
และจากเหตุการณ์เหล่านี้ นับได้ว่า Blog เป็นสื่อชนิดหนึ่งที่ไม่ต่างจาก วีดีโอ , สิ่งพิมพ์ , โทรทัศน์ หรือแม้กระทั่งวิทยุ เราสามารถเรียกได้ว่า Blog ได้เข้ามาเป็นสื่อชนิดใหม่ ที่สำคัญอย่างแท้จริง
สรุปให้ง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ Blog คือเว็บไซต์ ที่มีรูปแบบเนื้อหา เป็นเหมือนบันทึกส่วนตัวออนไลน์ มีส่วนของการ comments และก็จะมี link ไปยังเว็บอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
สมาชิกในกลุ่ม
นาย ธีรวีร์ วิวัฒน์กรุณา เลขที่ 14
นาย ธุววิช มโนเรือง เลขที่ 16
นาย พิเชษฐ์ สุขใส เลขที่ 63

กรณีศึกษา: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานร้านไอศครีม lberry

7/19/2552 12:44:00 หลังเที่ยง 0 Comments »
http://beerwunt.blogspot.com
คำถาม
1.) ประโยชน์ที่ร้านไฮศครีม lberry นำไอทีเข้ามาช่วยการบริหารงาน นอกจากการแก้ปัญหาข้างต้นแล้ว ท่านคิดว่าทางร้านยังได้รับประโยชน์ใดบ้างด้านการสั่งซื้อวัตถุดิบที่ขาดแคลน และ การบริการการส่งไอศครีม Iberry
1.1ด้านการสั่งซ้อวัตถุดิบที่ขาดแคลน เนื่องจาก ร้านมีสาขา เยอะ แล้วในการจำหน่วยไอศครีม อาจจะมีบางช่วงที่ลูกค้าหนาแน่น จึ่งทำให้วัตถุดิบภายในร้านหมดลง ในการนี้ที่ร้าน ใช้ระบบ It จึงมีความจำเป็น ในด้านการสั่งซื้อของโดยตรงจาก สำนักงานใหญ่ หรือสาขาที่มีความรับผิดชอบในเรื่องการจัดส่งวัตถุดิบเข้าร้านไอศครีม Iberry
1.2การบริการด้านการส่งไอศครีม Iberryทางร้านอาจจะใช้การสั่งซื้อ ผ่านระบบเครือข่าย Internet หรือ ระบบ Network แล้วในการส่งก็ต้องใช้ความชำนาญทางร้านไอศครีม ก็อาจจะ ใช้ ระบบ GPRS เข้ามาช่วยในระบบการส่งไอศครีม ให้กับผู้ที่สั่งซื้อ เป็นต้น
2.) ท่านคิดว่าในอนาคตร้านไอศครีม lberry สามารถนำไอทีเข้ามาช่วยงานด้านใดอีกได้บ้างร้านไอศครีม Iberry สามาถนำไอทีเข้ามาช่วยงานในด้าน การขาย และการจัดส่ง
2.1 ในด้านการขาย ทางร้านอาจจะนำระบบ อินเทอร์เน็ต ในการทำเวปไซด์ ของกิจการร้านเพื่อทำให้ ผู้บริโภคได้รู้จัก ร้านไอศครีม Iberry มากยิ่งขึ้น
2.2 การจัดส่ง เนื่องด้วยเป็นร้านไอศครีมการจัดส่งในแต่ละครั้ง จึงควรต้องมีความรวดเร็วในการจัดส่งไอศรีม ทางร้านจึงอาจจะนำระบบ GPRS เข้ามาช่วยระบบตำแหน่งที่จัดส่งอย่างแม่นยำ และจะช่วยลดเวลาในการหา ตำแหน่งที่จัดส่ง อีกด้วย
3.) จากแนวคิดการนำไอทีมาใช้แก้ปัญหาของผู้บริหาร้านไอครีม lberry นั้น ท่านคิดว่าสามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจใดได้บ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบแนวคิดนี้สามารถประยุกต์ใช้กับธุรกิจ ร้านขายไม้ดอกและไม้ประดับ
3.1 ใช้ระบบเซนเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิอากาศ และควบคุมระบบการปล่อยน้ำลดต้นไม้
3.2 นำเอาระบบโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ด้วยระบบ Network Camera เข้ามาใช้ภายในร้าน ทำให้สามารถบันทึกภาพและเหตุการณ์ภายในร้านได้ตลอดเวลา และทราบถึง สภาพของต้นไม้ ที่เราเลี้ยงไว้ขายอีกด้วย
3.3 ใช้ระบบ Internet เข้ามามีบทบาทในการโปรโมทร้าน เพื่อทำให้บุคคล หรือผู้ที่สนใจ ได้รู้จัก ร้านขายไม้ดอกไม้ประดับ ดีมากยิ่งขึ้น และเขียน Forum เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความสนใจ ในพันธ์ ไม้ ต่างๆ ในแวดวงธุรกิจเดียวกัน
3.4 ใช้ระบบ เครื่องข่าย Network หรือ Internet ในการสั่งซื้อหรือจัดจำหน่าย และใช้ระบบ GPRS เพื่อเป็นการซัพพอตในการจัดส่งสำหรับผู้ใช้งาน

อินเทอร์เน็ตและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

7/04/2552 01:32:00 หลังเที่ยง 1 Comment »
อินเทอร์เน็ต(Internet)






อินเทอร์เน็ต หมายถึง กลุ่มของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน และอนุญาตให้มีการเข้าถึงสารสนเทศและการบริการในรูปแบบของสาธารณะ

ความเป็นมาของอินเทอร์เน็ต
มีจุดเริ่มต้นจากโครงการอาร์พาเน็ต ที่อยู่ในความควบคุมของอาร์พาซึ่งเป็นหน่วยงานย่อยในสังกัดกระทรวงกลาโหมของสหรัฐอเมริกา โดยได้สนับสนุนทุนให้แก่มหาวิทยาลัยและบริษัทเอกชนเพื่อทำวิจัยและพัฒนาการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 4 แห่ง เข้าด้วยกัน และต่อมาภายหลังได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนไปใช้เครือข่ายที่ใหญ่ขึ้น เรียกว่าเครือข่าย อินเทอร์เน็ต ที่ใช้ในปัจจุบัน


อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มต้นจากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียได้ติดต่อขอใช้บริการจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น โดยใช้สายโทรศัพท์ในการเชื่อมโยง ต่อมาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดตั้งเครือข่ายยูยู
เน็ต และมีอีกหลายสถาบันศึกษาเข้ามาขอเชื่อมต่อกับเครือข่าย และเรียกเครือข่ายว่า ไทยเน็ต


การแทนชื่อที่อยู่ของอินเทอร์เน็ต (Internet Address)
เครื่องคอมพิวเตอร์จำเป็นที่ต้องมีหมายเลขประจำตัว เรียกว่า หมายเลขไอพี ซึ่งประกอบด้วยชุดของตัวเลข 4 ชุด ขนาด 8 บิต เนื่องจากหมายเลขไอพีนั้นจดจำยาก ดังนั้นจึงได้มีการกำหนดชื่อเพื่อใช้แทนหมายเลขไอพี เรียกว่า ระบบชื่อโดเมน


การเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต
การเชื่อมต่อเข้าระบบอินเทอร์เน็ต 2 วิธีการหลัก คือ การเชื่อมต่อโดยตรง และการเชื่อมต่อโดยผ่านโทรศัพท์และโมเด็ม
1. การเชื่อมต่อโดยตรงกับหน่วยงานที่ให้บริการอินเทอร์เน็ต
ผู้ใช้จะต้องมีคอมพิวเตอร์เครือข่ายที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายหลักหรือแบ็กโบน เป็นการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา ข้อดีก็คือ การรับ-ส่งข้อมูลจะสามารถทำได้โดยตรง รับ-ส่งข้อมูลได้เร็วและมีความน่าเชื่อถือ ส่วนข้อเสียคือ ค่าใช้จ่ายสูง
2. การเชื่อมต่อโดยผ่านโทรศัพท์และโมเด็ม
เป็นการเชื่อมต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ โดยจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เครือข่ายโดยใช้อุปกรณ์แปลงสัญญาณที่เรียกว่า โมเด็ม ข้อดีคือ ค่าใช้จ่ายจะต่ำกว่าการเชื่อมต่อโดยตรง เนื่องจากมีการเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเช่าคู่สายโทรศัพท์ไปยังต่างประเทศ ส่วนข้อเสียคือ การส่งข้อมูลจะช้ากว่าโดยตรง


โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser)
เรียกสั้นๆว่า เบราเซอร์ คือโปรแกรมที่ใช้แสดงข้อมูลของเว็บเพจ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์แรกเป็นโปรแกรมที่สั่งโดยใช้ข้อความ และแสดงผลในรูปของข้อความเท่านั้น ต่อมาได้สร้างโปรแกรมรูปแบบกราฟิก เป็นโปรแกรมที่สามารถแสดงเอกสารที่อยู่ในลักษณะของข้อความและภาพกราฟิกได้ เช่น โปรแกรม Microsoft Internet Explorer , Netscape Navigator

บริการต่างๆบนอินเตอร์เน็ต



1. ไปรษรีย์อิเล็กทรอนิกส์ เรียกกันโดยทั่วไปว่าอีเมล ซึ่งเป็นการรับ-ส่งจดหมายหรือข้อความถึงกันได้ทั่วโลก
2. การสนทนาออนไลน์ ผู้ใช้สามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆได้ในเวลาเดียวกัน สามารถใช้ภาพกราฟิก การ์ตูน หรือภาพเคลื่อนไหวต่างๆแทนตัวผู้สนทนาได้
3. เทลเน็ต เป็นบริการที่ให้ผู้ใช้บริการที่ตั้งอยู่ระยะไกล โดยจะใช้การจำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ที่กำลังใช้งานอยู่ให้เป็นจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ระยะไกล การทำงานจะช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย 4. การขนถ่ายไฟล์ เรียกสั้นๆว่า เอฟทีพี เป็นบริการที่ใช้สำหรับการแลกเปลี่ยนไฟล์ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ทางอินเตอร์เน็ต

พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ( E-Commerce)



พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คือ การทำธุรกรรมทุกรูปแบบผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร โทรทัศน์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
1. ธุรกิจแบบบริคและมอร์ต้า เป็นธุรกิจแบบดั้งเดิมที่มีสถานที่จำหน่าย แต่จะไม่มีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
2. ธุรกิจแบบคลิกและมอร์ต้า เป็นธุรกิจแบบที่มีสถานที่จำหน่าย และมีเว็บไซต์ที่นำเสนอสินค้า
3. ธุรกิจแบบคลิกและคลิก เป็นธุรกิจไม่มีสถานที่หรือร้านค้าเพื่อจำหน่ายสินค้า มีเพียงเว็บไซต์เท่านั้น


รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1. ธุรกิจกับธุรกิจ B2B มุ่งเน้นให้บริการกับลูกค้าที่เป็นองค์การธุรกิจด้วยกัน
2. ธุรกิจกับลูกค้า B2C เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การธุรกิจกับลูกค้า 3. ธุรกิจกับภาครัฐ B2G เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างองค์การธุรกิจกับภาครัฐ
4. ลูกค้ากับลูกค้า C2C เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างผู้บริโภคด้วยกัน
5. ภาครัฐกับประชาชน G2C เป็นการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ระหว่างภาครัฐกับประชาชน ไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อการค้า แต่เป็นนโยบายหนึ่งของรัฐ


โครงสร้างระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
มีหน้าร้าน ระบบตะกร้ารับคำสั่งซื้อ ระบบการชำระเงิน ระบบสมัครสมาชิก ระบบการขนส่ง และระบบติดตามคำสั่งซื้อ ในด้านของกระบวนการทางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ก็มีดังนี้ การค้นหาข้อมูล การสั่งซื้อสินค้า การชำระเงิน การส่งมอบสินค้าและการให้บริการหลังการขาย

ประวัติส่วนตัวผู้จัดทำ




ชื่อ นาย ธีรวีร์ วิวัฒน์กรุณา อายุ 25 ปี
เกิด วันที่ 21 มกราคม 2527

ที่อยู่ 60/6 ม.6 ต.หนองละลอก อ.บ้านค่าย จ.ระยอง 21120
จบการศึกษาจากเทคโนโลยีภาคตะวันออก
ปัจจุบันทำงานที่ Fujitsu Ten (Thailand) Co.,Ltd.





ชื่อ นาย ธุววิช มโนเรือง อายุ 29 ปี
เกิดวันที่ 31 ธันวาคม 2523
ที่อยู่ 35/220 ม.3 ต.มาบยางพร อ.ปลวกแดง จ.ระยอง
ปัจจุบันทำงาน บ. สยามนิปปอนสตีลไพพ์
งานอดิเรก เล่นเกมส์ , เล่นฟุตบอล
ทีมฟุตบอลในดวงใจ ทหารอากาศ




นาย พิเชษฐ์ สุขใส อายุ 26 ปี

เกิดวันพฤหัสบดี วันที่ 26 /05/1983

ที่อยู่ 389/10 แยก PMY ต.เนินพระ อ.เมือง จ.ระยอง

สถานที่ทำงาน สยามมิตซุย PTA จำกัด

สถานะภาพ โสด

จบการศึกษาจาก วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ