7/26/2552 02:10:00 หลังเที่ยง 0 Comments »
SAN คืออะไร
SAN (Storage Area Network) และ NAS (Network Attached Storage) ต่างเป็นเทคโนโลยีเพื่อช่วยเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเข้ามาแทนที่การเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโดยตรงอย่าง Direct Attached Storage (DAS) ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง เช่น ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ความถูกต้องของข้อมูล หรือ พื้นที่จัดเก็บ ให้เกิดความยืดหยุ่นในการเข้าถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมากกว่า โดยเทคโนโลยีทั้งสองอย่างมีพื้นฐานมาจากมาตรฐานเปิดเน็ตเวิร์กโปรโตคอล ความเข้าใจเกี่ยวกับ SAN
1. การจัดเก็บข้อมูลแบบ SAN
เป็นเครือข่ายของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโดยเฉพาะ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับระบบ LAN กล่าวคือ เป็นเครือข่ายที่แยกตัวออกมาจาก LAN ดังนั้นการส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารของตัวอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจึงไม่มีผลกระทบโดยตรงกับเครือข่าย LAN ในองค์กร
2. SAN ไม่ใช่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย
อุปกรณ์จัดเก็บ เช่น Hard Disk หรือ Tape Backup รวมทั้งอุปกรณ์จัดเก็บอื่น ๆ บน LAN ไม่ใช่ SAN ไม่ว่าเครือข่ายจะมีเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากเท่าใด อุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลทั้งภายนอก และภายในเซิร์ฟเวอร์จะมีขนาดใหญ่ หรือจำนวนมากเท่าใด ก็ยังไม่สามารถเรียกว่า SAN
3. SAN ไม่ใช่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เชื่อมต่อกันโดยตรงกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรือเครือข่าย
การเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบต่อตรง ยังมีปัญหาในเรื่องขีดจำกัดของ SCSI Adapter หรืออินเทอร์เฟสของระบบ SCSI ที่ใช้ รวมทั้งแอดเดรสที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะมีให้ นอกจากนี้การที่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลทำงานภายใต้ระบบ SCSI และถูกติดตั้งไว้บนระบบ LAN จะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของประสิทธิภาพเกิดขึ้น เนื่องจาก Workstation ต่าง ๆ บน LAN จะต้องเข้ามาขอแบ่งการใช้งานแบนด์วิดธ์ของระบบ LAN ที่มีอยู่ ทำให้การทำงานช้าลง
4. ใช้การเชื่อมต่อแบบ Fiber Channel
SAN ใช้ระบบการเชื่อมต่อและโปรโตคอลที่เรียกว่า Fiber Channel การเชื่อมต่อที่ใช้เทคโนโลยีลักษณะนี้จะเป็นการเชื่อมต่อเฉพาะแบบที่ไม่ใช่ระบบ LAN จะยอมให้ส่งคำสั่งควบคุมการจัดส่งข้อมูลระหว่างตัวอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของอนุกรมมากกว่าที่จะเป็นแบบคู่ขนาน
SAN (Storage Area Network) และ NAS (Network Attached Storage) ต่างเป็นเทคโนโลยีเพื่อช่วยเข้าถึงข้อมูลในอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์ เพื่อเข้ามาแทนที่การเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโดยตรงอย่าง Direct Attached Storage (DAS) ซึ่งมีข้อจำกัดอยู่หลายอย่าง เช่น ความเร็วในการเข้าถึงข้อมูล ความถูกต้องของข้อมูล หรือ พื้นที่จัดเก็บ ให้เกิดความยืดหยุ่นในการเข้าถึงอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลมากกว่า โดยเทคโนโลยีทั้งสองอย่างมีพื้นฐานมาจากมาตรฐานเปิดเน็ตเวิร์กโปรโตคอล ความเข้าใจเกี่ยวกับ SAN
1. การจัดเก็บข้อมูลแบบ SAN
เป็นเครือข่ายของอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลโดยเฉพาะ ไม่ยุ่งเกี่ยวกับระบบ LAN กล่าวคือ เป็นเครือข่ายที่แยกตัวออกมาจาก LAN ดังนั้นการส่งถ่ายข้อมูลข่าวสารของตัวอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจึงไม่มีผลกระทบโดยตรงกับเครือข่าย LAN ในองค์กร
2. SAN ไม่ใช่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลบนเครือข่าย
อุปกรณ์จัดเก็บ เช่น Hard Disk หรือ Tape Backup รวมทั้งอุปกรณ์จัดเก็บอื่น ๆ บน LAN ไม่ใช่ SAN ไม่ว่าเครือข่ายจะมีเซิร์ฟเวอร์จำนวนมากเท่าใด อุปกรณ์การจัดเก็บข้อมูลทั้งภายนอก และภายในเซิร์ฟเวอร์จะมีขนาดใหญ่ หรือจำนวนมากเท่าใด ก็ยังไม่สามารถเรียกว่า SAN
3. SAN ไม่ใช่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลที่เชื่อมต่อกันโดยตรงกับเครื่องเซิร์ฟเวอร์ หรือเครือข่าย
การเชื่อมต่ออุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลแบบต่อตรง ยังมีปัญหาในเรื่องขีดจำกัดของ SCSI Adapter หรืออินเทอร์เฟสของระบบ SCSI ที่ใช้ รวมทั้งแอดเดรสที่เครื่องเซิร์ฟเวอร์จะมีให้ นอกจากนี้การที่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลทำงานภายใต้ระบบ SCSI และถูกติดตั้งไว้บนระบบ LAN จะทำให้เกิดปัญหาในเรื่องของประสิทธิภาพเกิดขึ้น เนื่องจาก Workstation ต่าง ๆ บน LAN จะต้องเข้ามาขอแบ่งการใช้งานแบนด์วิดธ์ของระบบ LAN ที่มีอยู่ ทำให้การทำงานช้าลง
4. ใช้การเชื่อมต่อแบบ Fiber Channel
SAN ใช้ระบบการเชื่อมต่อและโปรโตคอลที่เรียกว่า Fiber Channel การเชื่อมต่อที่ใช้เทคโนโลยีลักษณะนี้จะเป็นการเชื่อมต่อเฉพาะแบบที่ไม่ใช่ระบบ LAN จะยอมให้ส่งคำสั่งควบคุมการจัดส่งข้อมูลระหว่างตัวอุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของอนุกรมมากกว่าที่จะเป็นแบบคู่ขนาน
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น